Back to basic , go to inner .
หลากหลายวิถีแห่งโยคะ ตอนที่ 3
หลากหลายวิถีแห่งโยคะ ตอนที่ 3

ตอน3 หฐโยคะ กุณฑลินีโยคะ ตันตระโยคะ (Hatha ,Kundalini, Tantra yoga) – (fb โพสต์ 25/06/24)

ต้องพิจารณาแนวคิดพื้นฐานซึ่งเป็นศูนย์กลางของโยคะทั้งสามอย่าง โดยกล่าวถึงกุณฑลินีประกอบไปด้วย คือ มีช่องหรือนาฑีในร่างกายที่ปราณสามารถผ่านเข้าออกได้และมีจำนวนมาก ในส่วนที่เกี่ยวกับกุณฑลินี มีนาฑีที่สำคัญที่สุด 3อย่าง คือ อิฑา (Ida) ปิงคลลา (pingala)และ สุษุมณา(susumna)

นาฑีทั้งสามนี้แล่นไปตามกระดูกสันหลัง สุษุมณาแล่นตรงขึ้นไปตามแนวกระดูกสันหลังส่วนอิฑาและปิงคคลาแล่นวนตามแนวกระดูกสันหลัง อิฑานาฑีแล่นผ่านจมูกข้างซ้ายปิงคคลาแล่นผ่านจมูกข้างขวา

อิฑาและปิงคลานาฑียังมีชื่ออย่างอื่นด้วยเช่น หะ และ ฐะ = หฐ หะตัวแทนของอิฑาและพลังเย็นของดวงจันทร์ ส่วน ฐะตัวแทนของปิงคคลาและพลังร้อนของดวงอาทิตย์ นาฑีทั้งสองจะไหลวนมาพบกันที่ 6 จุด ในร่างกาย เรียกว่า จักร (chakra)

โดยปรกติปราณไม่สามารถแล่นตรงถึงสุษุมณาได้ แต่จะไหลผ่านอิฑา (หะ) และปิงคลา(ฐะ) เมื่อใดที่ปราณของหะและฐะรวมกัน (โยคะ)และสามารถเข้าไปถึงสุษุมณานาฑีที่เป็นศูนย์กลางได้ มันจะรวมศูนย์ในร่างกายในระดับที่มากจนกระทั้งผลของมันสามารถกระจายไปทั่วร่างกาย ไม่มีส่วนไหนสูญเสียไหลออกภายนอกร่างกาย กระบวนการนี้เรียกว่า “หฐโยคะ”

เพราะฉะนั้นทิศทางและลักษณะการไหลเวียนของปราณจึงมีผลโดยตรงกับสภาพจิตใจของเรา ถ้าเราไม่สามารถรักษาปราณนาฑีได้เพียงพอ หรือมีสิ่งกีดขวางทำให้ปราณไม่สามารถไหลเวียนไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ และกระจัดกระจายออกนอกร่างกาย ส่งผลให้จิตใจหม่นหมอง กระวนกระวาย แต่ในทางกลับกัน การสะสมของปราณในร่างกายจะนำมาซึ่งความสงบภายในและความเข้าใจที่แท้จริง

โดยปรกติการไหลเวียนอย่างอิสระของปราณในสุษุมณาค่อนข้างเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีอะไรบางอย่างกีดขวางช่องทาง สิ่งกีดขวางนี้มีสัญลักษณ์เป็นงูขดอยู่หรือเรียกว่า “กุณฑลินี”

แนวคิดเกี่ยวกับกุณฑลินีจึงค่อนข้างสับสน เพราะคำจำกัดความที่ไม่แน่นอน แม้แต่ในคัมภีร์อย่าง หฐะโยคะ ประทีปิกา (Hatha Yoga Pradipika) ก็ยังมีคำอธิบายที่ขัดแย้งกัน ดังนั้นคำจำกัดความที่น่าจะเชื่อมโยงสอดคล้องแง่มุมของโยคะที่ชัดเจนโดยรวบรวมเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ได้มากที่สุด คือ โยคะ ยาชญวัลกยะ (Yoga Yajnavalkya)ที่กล่าวไว้ว่า …

“กุณฑลินี คือ อุปสรรค สิ่งที่เข้าไปในสุษุมณาในระหว่างการฝึกโยคะไม่ใช่ตัวกุณฑลินีเอง แต่คือ ปราณ (หนังสือหลายเล่มกล่าวว่าสิ่งที่ขึ้นไปตามสุษุมณาคือกุณฑลินี แต่ไม่เป็นเหตุเป็นผล) ถ้าเราถือตามคัมภีร์นี้ แง่มุมของโยคะหนึ่งในแนวคิดศูนย์กลางก็คือ“ปราณ”รวมทั้งรูปแบบอื่น ๆ ของปราณในร่างกายนั้นเชื่อมโยงกับการฝึกโยคะ และกล่าวว่าถ้าเราประสบความสำเร็จในการฝึก กุณฑลินีจะถูกเผาให้มอดไหม้ ทำให้ช่องทางสำหรับปราณโล่ง

ในขณะที่งูขดตัวหลับอยู่จะคลายและขยายตัวออก ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถเก็บมันในท่าขดตัวอยู่ได้ กล่าวกันว่าเมื่อไฟในร่างกายหรืออัคนีฆ่างูตัวนี้ กุณฑลินีจะเหยียดออก ทำให้ช่องทางเปิดโล่งเพื่อการไหลเวียนของปราณ ปรากฎการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน ถึงแม้ว่าบางส่วนของกุณฑลินีจะถูกทำลายไปแล้ว แต่มันก็ยังคงสามารถกีดขวางสุษุมณาได้อีกเป็นเวลานาน

ถ้าพิจารณาในมุมนี้จะชัดเจนว่า กุณฑลินีก็คือการอธิบายถึงสิ่งที่เราเรียกว่า อวิทยาในอีกวิธีหนึ่ง ทำนองเดียวกับที่อวิทยามีพลังมากจนกระทั่งทำให้เราไม่สามารถมองเห็นปุรุษ ส่วนกุณฑลินีก็ขัดขวางปราณทำให้มันไม่สามารถไหลขึ้นผ่านสุษุมณาได้

เราจึงเข้าใจได้ว่า หฐะโยคะเป็นส่วนหนึ่งของราชาโยคะ ซึ่งทำให้คำจำกัดความว่าเป็นกระบวนการที่ปราณซึ่งเป็นมิตรของปุรุษค่อย ๆ เคลื่อนสู่เบื้องบนก็ได้ เมื่อปราณขึ้นสู่จุดสูงสุดปุรุษจะคลี่คลายและกษัตริย์ภายในเราจะปรากฏขึ้น

โยคะแบบสุดท้ายคือ ตันตระโยคะ – ตันตระ แปลว่า วิธีการ อาจใช้อธิบายการฝึกโยคะบนพื้นฐานของกุณฑลินีร่วมด้วย ในตันตระโยคะจุดเน้นอยู่ที่ “การควบคุมพลังงาน” ซึ่งกระจัดกระจาย ในแง่บวกหมายถึงทักษะหรือความสามารถในตันตระโยคะ จุดเน้นอยู่ที่ร่างกาย และขอบเขตที่กว้างขวางของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับแง่มุมอื่น ๆ รวมทั้งของโลกและจักรวาล

สรุป โยคะแบบใดก็ตาม หลัก ๆ แล้วมันคือ “คำถามเกี่ยวกับสภาวะจิตใจของเรา” อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับจิตใจและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจิตใจจะมีผลต่อตัวบุคคลรวมทั้งร่างกายและประสบการณ์ทางร่างกายทั้งหมดด้วย นี่คือพื้นฐานของโยคะสูตรเราไม่ควรสับสนกับกระบวนการเดียวกันที่ถูกอธิบายไปต่าง ๆ ด้วยเพราะคนให้ความสำคัญกับการจำแนกมากเกินไป จึงทำให้เกิดความรู้สึกว่ามีความแตกต่างกัน แต่ที่สำคัญระหว่างโยคะแบบต่าง ๆ นั้นจริง ๆ แล้วทั้งหมดพูดเรื่องเดียวกัน เพียงแต่มองจากมุมที่ต่างกันเท่านั้นเอง ถ้าคุณปฏิบัติตามโยคะแบบใดแบบหนึ่งอย่างแท้จริงมันจะนำเราไปสู่วิถีแห่งโยคะทั้งหมดได้

อ้างอิง : The heart of yoga หัวใจแห่งโยคะ หน้า 277เขียน ที.เค.วี.เทสิกาจารย์ แปลธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์

Posted by Roots8Yoga 0 Comments

0 comments

The comments are closed