ตอน2 ราชาโยคะ กรรมโยคะ และกิริยาโยคะ (fb โพสต์ 23/06/24)
ราชาโยคะ(raja) – ราชา แปลว่า “กษัตริย์”ในปริบทนี้หมายถึงภาวะที่ประจักษ์แจ้งอยู่เสมอ กษัตริย์ หมายถึงบางสิ่งบางอย่างในตัวเราซึ่งเป็นมากกว่าที่เราเป็น ราชายังหมายถึงสิ่งที่สูงส่งหรือพลังที่เชื่อมโยงกับภัคติโยคะ
สำหรับคนที่ไม่ต้องการเชื่อมโยงราชาโยคะกับอิศวร(พลังสูงส่ง) คุณอาจกล่าวได้ว่าในตัวเราแต่ละคนมีกษัตริย์พระองค์หนึ่งอยู่ เราเข้าใจแนวคิดนี้ว่าเป็น “ปุรุษ” ซึ่งในกิจวัตรประจำวันของเรา ปุรุษหรือกษัตริย์ของเราถูกบดบังโดยการทำงานของจิตใจที่ถูกกระตุ้นไปทางโน้นทีทางนี้ทีตามประสาทสัมผัส ,ความทรงจำ และความเพ้อฝัน โดยมีอวิทยา (ความไม่รู้) เป็นตัวครอบงำ เมื่อกระบวนการนี้ถูกย้อนกลับและจิตใจกลายเป็นนายเหนืออินทรีย์ทั้งห้า(ประสาทสัมผัส) เมื่อนั้นเราจะค้นพบความกระจ่างแจ้งและความสงบ
ไม่ว่ากษัตริย์ในตัวเราจะเป็น ปุรุษ หรือ อีศวร ราชาโยคะหมายถึงกษัตริย์ที่อยู่ในที่ที่เหมาะสม โยคะสูตรกล่าวว่า “เมื่อใดที่ไม่มีความกระวนกระวายในจิตใจอีกต่อไป เมื่อนั้นปุรุษจะเผยตัวและมองเห็นนี่คือ ราชาโยคะ”
กรรมโยคะ – กรรม (karma) คือ การกระทำ ในชีวิตเราสามารถ”กระทำ” เท่านั้น แต่เราไม่ควรมุ่งที่ “ผลของการกระทำ” ถ้าผลของความพยายามของเราไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เราไม่ควรจะผิดหวัง และการกระทำของเราไม่ควรถูกกำหนดจากความคาดหวัง
กริยาโยคะ -มีแนวคิดที่แตกต่างหลายอย่าง ในโยคะสูตรอธิบายว่า เป็นขอบเขตทั้งหมดของการฝึกที่เรียกว่าโยคะ หมายถึงทุก ๆ สิ่งที่เราสามารถฝึกฝนและปฏิบัติได้จริงนั่นก็คือกริยาโยคะ โดยกล่าวถึง 3 แง่มุม ได้แก่ ตบะ สวาธยายะ และ อีศวรประณิธาน (คือ 3 ในอัษฎางค์ 8 หรือ บันได 8 ขั้นสู่องค์สมาธิ)
ตบะ คือการปฏิบัติ เช่น อาสนะและปราณายามะ ซึ่งจะช่วยกำจัดการอุดตันและความตึงเครียดทั้งในร่างกายและจิตใจ สวาธยายะหมายถึงการค้นหา ตั้งคำถาม การมองเข้าไปในตัวเราเอง ส่วนอีศวรประณิธานเป็นการกระทำซึ่งไม่ถูกกระตุ้นจากผลของการกระทำ (ทำโดยไม่หวังผล)
อ้างอิง: The heart of yoga หัวใจแห่งโยคะ หน้า 277เขียน ที.เค.วี.เทสิกาจารย์ แปลธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์
0 comments