ตอน3 หฐโยคะ กุณฑลินีโยคะ ตันตระโยคะ (Hatha ,Kundalini, Tantra yoga) – (fb โพสต์ 25/06/24) ต้องพิจารณาแนวคิดพื้นฐานซึ่งเป็นศูนย์กลางของโยคะทั้งสามอย่าง โดยกล่าวถึงกุณฑลินีประกอบไปด้วย คือ มีช่องหรือนาฑีในร่างกายที่ปราณสามารถผ่านเข้าออกได้และมีจำนวนมาก ในส่วนที่เกี่ยวกับกุณฑลินี มีนาฑีที่สำคัญที่สุด 3อย่าง คือ อิฑา (Ida) ปิงคลลา (pingala)และ สุษุมณา(susumna) นาฑีทั้งสามนี้แล่นไปตามกระดูกสันหลัง สุษุมณาแล่นตรงขึ้นไปตามแนวกระดูกสันหลังส่วนอิฑาและปิงคคลาแล่นวนตามแนวกระดูกสันหลัง อิฑานาฑีแล่นผ่านจมูกข้างซ้ายปิงคคลาแล่นผ่านจมูกข้างขวา อิฑาและปิงคลานาฑียังมีชื่ออย่างอื่นด้วยเช่น หะ และ ฐะ = หฐ หะตัวแทนของอิฑาและพลังเย็นของดวงจันทร์ ส่วน ฐะตัวแทนของปิงคคลาและพลังร้อนของดวงอาทิตย์ นาฑีทั้งสองจะไหลวนมาพบกันที่ 6 จุด ในร่างกาย เรียกว่า จักร (chakra) โดยปรกติปราณไม่สามารถแล่นตรงถึงสุษุมณาได้ แต่จะไหลผ่านอิฑา (หะ) และปิงคลา(ฐะ) เมื่อใดที่ปราณของหะและฐะรวมกัน (โยคะ)และสามารถเข้าไปถึงสุษุมณานาฑีที่เป็นศูนย์กลางได้ มันจะรวมศูนย์ในร่างกายในระดับที่มากจนกระทั้งผลของมันสามารถกระจายไปทั่วร่างกาย ไม่มีส่วนไหนสูญเสียไหลออกภายนอกร่างกาย กระบวนการนี้เรียกว่า “หฐโยคะ” เพราะฉะนั้นทิศทางและลักษณะการไหลเวียนของปราณจึงมีผลโดยตรงกับสภาพจิตใจของเรา […]
ตอน2 ราชาโยคะ กรรมโยคะ และกิริยาโยคะ (fb โพสต์ 23/06/24) ราชาโยคะ(raja) – ราชา แปลว่า “กษัตริย์”ในปริบทนี้หมายถึงภาวะที่ประจักษ์แจ้งอยู่เสมอ กษัตริย์ หมายถึงบางสิ่งบางอย่างในตัวเราซึ่งเป็นมากกว่าที่เราเป็น ราชายังหมายถึงสิ่งที่สูงส่งหรือพลังที่เชื่อมโยงกับภัคติโยคะ สำหรับคนที่ไม่ต้องการเชื่อมโยงราชาโยคะกับอิศวร(พลังสูงส่ง) คุณอาจกล่าวได้ว่าในตัวเราแต่ละคนมีกษัตริย์พระองค์หนึ่งอยู่ เราเข้าใจแนวคิดนี้ว่าเป็น “ปุรุษ” ซึ่งในกิจวัตรประจำวันของเรา ปุรุษหรือกษัตริย์ของเราถูกบดบังโดยการทำงานของจิตใจที่ถูกกระตุ้นไปทางโน้นทีทางนี้ทีตามประสาทสัมผัส ,ความทรงจำ และความเพ้อฝัน โดยมีอวิทยา (ความไม่รู้) เป็นตัวครอบงำ เมื่อกระบวนการนี้ถูกย้อนกลับและจิตใจกลายเป็นนายเหนืออินทรีย์ทั้งห้า(ประสาทสัมผัส) เมื่อนั้นเราจะค้นพบความกระจ่างแจ้งและความสงบ ไม่ว่ากษัตริย์ในตัวเราจะเป็น ปุรุษ หรือ อีศวร ราชาโยคะหมายถึงกษัตริย์ที่อยู่ในที่ที่เหมาะสม โยคะสูตรกล่าวว่า “เมื่อใดที่ไม่มีความกระวนกระวายในจิตใจอีกต่อไป เมื่อนั้นปุรุษจะเผยตัวและมองเห็นนี่คือ ราชาโยคะ” กรรมโยคะ – กรรม (karma) คือ การกระทำ ในชีวิตเราสามารถ”กระทำ” เท่านั้น แต่เราไม่ควรมุ่งที่ “ผลของการกระทำ” ถ้าผลของความพยายามของเราไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เราไม่ควรจะผิดหวัง และการกระทำของเราไม่ควรถูกกำหนดจากความคาดหวัง กริยาโยคะ -มีแนวคิดที่แตกต่างหลายอย่าง ในโยคะสูตรอธิบายว่า เป็นขอบเขตทั้งหมดของการฝึกที่เรียกว่าโยคะ หมายถึงทุก […]
เล่นโยคะ ฝึกโยคะ ทำโยคะ เรียนโยคะ เรียกรวมเป็นที่เข้าใจว่า “โยคะ” แต่ด้วยเพราะภาพในความคิดของหลายๆ คนจะนึกถึงเพียงการทำท่าทางประหลาด ท่าดัดตัว ท่าพิศดารหวือหวาที่ในชีวิตประจำวันเราไม่ทำ .. ขออธิบายว่า “ท่า” หรือ อาสนะนั้น คือใบเบิกทาง เป็นหนึ่งในวิธีการ และอยู่ในองค์รวมของวิถีแห่งโยคะ แต่ถ้ากล่าวถึงโยคะ ภาพใหญ่จะมุ่งไปที่วิธีใดๆ ที่นำสู่กระบวนการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะจิตใจ ร่างกาย และเกิดประสบการณ์เฉพาะตน ตอน 1 – ชญานโยคะ ภัคติโยคะ มนตราโยคะ (fbโพสต์ 21/06/24) โยคะนำเสนอวิธีที่จะช่วยให้บรรลุถึงจิตใจที่กระจ่างแจ้งหลายวิธีด้วยกัน แต่ละวิธีมีจุดเน้นที่ต่างกัน ในหนังสือภควัทคีตา กล่าวถึงรูปแบบของโยคะไว้ถึง 18 รูปแบบ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ 9 รูปแบบได้แก่ ชญานโยคะ ภัคติโยคะ มนตราโยคะ ราชาโยคะ กรรมโยคะ กริยาโยคะ กุณฑลินีโยคะ หฐโยคะ และตันตระโยคะ ชญานโยคะ – ชญาน (jnana)หมายถึง “ความรู้” เน้นการค้นหาความรู้ที่แท้จริงแต่ดั้งเดิมโดยเริ่มต้นที่การฟังคำสอนของครูผู้อธิบายคัมภีร์โยคะเก่าแก่ให้แก่ศิษย์ […]
เมย์ หรือ ปรัยรัตน์ มะรังษี ดีไซเนอร์สาว เจ้าของบริษัทผลิตเครื่องหนัง ของพรีเมี่ยมและของแต่งบ้าน บริษัท ดีซายเออร์ เอ็น ดีไซน์ (Desire n Design Co.,Ltd.) อายุเพียง 30 ปี บุคลิกภายนอกอาจตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราประเมินไว้ ด้วยเพราะหลังจากการพูดคุย เราสัมผัสได้ถึงความสงบ สุขุม ซึ่งสะท้อนจากสิ่งที่อยู่ข้างในความเป็นเมย์ ประวัติการศึกษา จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ จากนั้นต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบพัสตราภรณ์ (ออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ) ทำไมถึงเลือกเรียนออกแบบ? ตอนเด็กอยากเป็นสถาปนิก แต่เพราะไม่ได้เรียนสายวิทย์-คณิต เลยเบนเข็มมาเรียนออกแบบด้านอื่นแทน สาขาที่เราเรียนจะเน้นเรื่องการดีไซน์ การออกแบบลายผ้า และเรียนรู้รายละเอียดรวมถึงกระบวนการผลิตผ้า ชอบไหม? ก็โอเคนะคะ คือตอนแรกก็งงๆ ว่ามันคืออะไร เรียนไปแล้วจะทำงานอะไรดี แต่พอเรียนไปก็เริมอิน ได้ลองทำนู่นทำนี่ใหม่ๆ ต้องนั่งทอผ้าเป็นเดือน ต้องถักผ้า ย้อมผ้า พิมพ์ผ้า เย็บผ้า ปักผ้า เป็นอะไรที่คนทั่วไปส่วนใหญ่คงไม่เคยทำ และคงไม่คิดจะทำ (ฮ่าฮ่า) จบปุ๊บ ทำงานปั๊บ สมัครงานแรกในตำแหน่ง […]
การฝึกโยคะที่หลายๆ คนมุ่งมั่นฝึกอยู่นั้น ไม่ใช่เพียงการฝึกท่าโยคะเท่านั้น ยังมีส่วนอื่น ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญและเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกันอยู่ ในวิถีแห่งการฝึกตน อันประกอบไปด้วย 1. ยมะ (Yama) Universal morality การเริ่มต้นฝึกโยคะ ต้องเริ่มต้นดวยการถือยมะ โยคะคือการฝึกกายฝึกใจไปพร้อม ๆ กัน จริยธรรม หรือ ข้อควรละเว้น ถือเป็นพื้นฐานอันดับแรกของมนุษย์ ศีลจึงเป็นหลักของการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างสันติ ซึ่งมีด้วยกัน 5 ข้อ ได้แก่ การแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง การไม่ลักทรัพย์ การไม่พูดปด การประพฤติตนบนทางแห่งความเป็นจริง และ การไม่ถือครองวัตถุเกินความจำเป็น 2. นิยมะ (Niyama) personal observances วินัย หรือข้อควรปฏิบัติ 5 ประการ ได้แก่ การอดทนอดกลั้น การพอใจในส่ิงที่ตนเองมีอยู่ การหมั่นชำระกายใจให้บริสุทธิ์ การหมั่นศึกษาตนเองเรียนรู้โยคะ และการเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน มีความศรัทธาในโยคะที่กำลังฝึกอยู่ 3. อาสนะ (Asana) Body postures คือท่าการบริหาร […]
จักระ เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง กงล้อ จักระคือ ศูนย์รวมพลังงานภายในร่างกายของมนุษย์ หรือ พลังแฝงท่่่ีมีอยู่ในทุก ๆ สิ่ง เป็นศูนย์พลังงานอันละเอียดอ่อน และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น จักระ ชี่ ลมปราณ เป็นต้น โยคีเชื่อว่า จักกระที่สำคัญของมนุษย์ มีอยู่ด้วยกัน 7 ตำแหน่ง ในแต่ละตำแหน่งมีจุดกำเนิดที่แตกต่างกัน และดูแลควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายของคนเราให้ทำงานเป็นปรกติ การหมุนวนของจักระ เกิดจากลมหายใจเข้าออก ที่หมุนเวียนอยู่ในร่างกายตลอดเวลา จักระหมุนตามเข็มนาฬิกาด้วยความถี่ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับระบบการทำงานของอวัยวะที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เพื่อให้เกิดความสมดุล ในปรัชญาฝ่ายโยคะ ขั้วบวกของร่างกายอยู่ตรงกระหม่อม ส่วนขั้วลบอยู่ปลายสุดของกระดูกสันหลัง ตามหลักวิทยาศาสตร์ ขั้วลบจะแล่นขึ้นไปหาขั้วบวก เมื่อใดกระแสไฟฟ้าในร่างกายโคจรได้คล่อง ร่างกายและจิตย่อมสมบูรณ์สุด พลังขั้วลบจะแล่นขึ้นผ่านตำแหน่งสำคัญ ๆ ในร่างกาย คือ จักระต่าง ๆ ใช้สัญญลักษณ์เป็นดอกบัวทั้งเจ็ดจุด อันประกอบไปด้วย จักระที่ 1 Root Chakra – Honors the […]